วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว
    แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง

“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง
    ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ  empowerment  คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม
โรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนัก
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น