วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
นางสาวสุภาวดี  ตรีรัตน์[1]
โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในเรื่องของคุณภาพโดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์      สิ่งที่จะทำให้มนุษย์เราอยู่รอดได้ในสังคมปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในทุกๆ ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน
              สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่สองรองจากสถาบันครอบครัวที่เป็นแหล่งพัฒนาคนให้มีความรู้ออกไปใช้ชีวิตในสังคม   การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการ โดยจะต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่ประชาชน  เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่  รู้จักคิดวิเคราะห์   รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรม รู้จักพึ่งตนเองและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข  ซึ่งถ้าสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนสามารถดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวได้บรรลุ คือการให้ความสำคัญกับ           การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบหรือการประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin  1994 : 45)
เมอร์กาทรอยด์ และ มอร์แกน (Murgatroyd & Morgan 1994) ได้จำแนกลักษณะเด่นของการประกันคุณภาพทางการศึกษาไว้ 5 ประการ
1.  มาตรฐานการศึกษากำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก
2.  มาตรฐานเขียนในรูปของความคาดหวังที่โรงเรียนจะต้องบรรลุถึง
3.  มาตรฐานต้องสามารถประเมินได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นปรนัย
4.  มาตรฐานต้องใช้อย่างเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นโดยปราศจากเหตุผลสมควร
5.  การประกันคุณภาพการศึกษาจะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวน (Audit and
Review) การทดสอบด้วยแบบ ทดสอบมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.   ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2.   ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3.   ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง  ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
การสร้างความมั่นใจซึ่งเป็นแกนหลักของการประกันคุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบ
สำคัญหลายประการอันได้แก่
1.  การวางแผนป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นของการออกแบบการกำกับดูแล ตรวจสอบและทบทวนเพื่อการปรับปรุง แก้ไขในทุกขั้นตอนของการผลิตซึ่งต่างจากรูปแบบการประเมินแบบเก่าที่เน้นการตรวจจับเมื่อปัญหาสำคัญในขั้นผลผลิต ได้เกิดขึ้นแล้ว
2.  การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยอันได้แก่รูปแบบ กรรมวิธี และ เทคนิควิธี
ที่เป็นนวัตกรรมที่มีหลักฐานทางทฤษฎีและผลการวิจัยเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือรองรับไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอน ต่างๆในกระบวนการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างมีเหตุผลว่า การดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ทั้งระบบจะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างน่าไว้วางใจ และจะมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในวงจำกัดที่น้อยที่สุด
การประกันคุณภาพในบริบทของการปฏิรูปการศึกษาซึ่งมีมาตรฐานเป็นแกนนำการสร้าง
ความมั่นใจจะเริ่มต้นตั้งแต่ การกำหนดมาตรฐานในระดับเป้าหมายการศึกษาของชาติ โดยการนำข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและ เชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศมาใช้ในกระบวนการ สร้างวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับสังคมไทยในอนาคตในฐานะทีเป็นสมาชิกของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะใช้เป็นกรอบและ แนวทางในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เหมาะสมกับกาลสมัยและทันเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงใน สังคมโลก และสามารถนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ต่อไป
“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุล แห่งชีวิต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว
    แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง

“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง
    ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ  empowerment  คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม
โรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนัก
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่

งานวิจัย

การปลูกพริก

การปลูก
การปลูก การปลูกพริก อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม คือ 1. โดยวิธีการใช้เมล็ดพริกหยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม 2. เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก 3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลงเพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้ามีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 200 ซีซี. แล้วรดน้ำตามทันที การเพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะได้แก่ ออไธไซด์ และในแปลงเพาะควรจะรดด้วยไดโฟลาแทน 80 หรือไดเทน เอ็ม 45 เพื่อป้องกันโรคเน่า เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม. ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูก ก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง

สรุปผลการวิจัย

นางสาวณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค


สรุปผลการวิจัย
                การศึกษาวิจัย การพัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม สรุปผลการวิจัยออกเป็น 3 ตอน มีลักษณะดังนี้
                ตอนที่ 1 สภาพและปัญหา โรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม
                                 สภาพ พบว่า โรงเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 8 โรงเรียน เป็นโรงเรียนที่เปิดทำการสอนในระดับประถมศึกษา ในจำนวนดังกล่าวเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 2 โรงเรียน ขนาดกลาง 4 โรงเรียน และขนาดใหญ่ 2 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนทั้งหมดเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน ใกล้สถานีอนามัย โรงพยาบาล วัด และหน่วยงานราชการใช้แนวทางเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนั้นและให้ความสำคัญกับงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยอย่างมากโดยจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
                                  ปัญหาการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย พบว่า 1) ขาดครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง 1.1) ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยไม่ได้สำเร็จการศึกษาตรงวุฒิ 1.2) ครูผู้สอนวิชาสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาส่วนใหญ่ไม่ตรงวุฒิ   2) ครูมีภาระงานที่นอกเหนือจากภาระงานสอนมากโดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก 3) การมีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจของผู้ปกครองและชุมชนมีค่อนข้างน้อย 4) ขาดการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่น   5) ขาดขวัญกำลังใจ ผู้บริหารต้นสังกัดของโรงเรียนไม่ให้ความสำคัญในงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยเท่าที่ควร 6) ขาดงบประมาณ เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณไม่ได้แยกจัดสรรเพื่องานส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยเฉพาะ  แต่โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนี้จะแฝงอยู่ในแผนงานของงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่พบในงานบริหารทั่วไป
                ตอนที่ 2 แนวทางการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพองค์รวมพบว่าโรงเรียนที่ศึกษามีแนวทางการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยดำเนินงานตามองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทั้ง 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. นโยบายของโรงเรียน 2.การบริหารจัดการในโรงเรียน 3. โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 4. การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 5. บริการอนามัยในโรงเรียน 6. สุขศึกษาในโรงเรียน 7. โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย   8. การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ 9. การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม   10. การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรของโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย แต่ไม่มีการทำเป็นระบบอย่างชัดเจน แม้ว่าบางโรงเรียนมีแผนงานแผนกิจกรรมชัดเจน อย่างไรก็ตามโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของโรงเรียน บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีการจัดโครงการหรือกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพสอดคล้องตามเกณฑ์ของกรมอนามัย เช่น โครงการจัดอาหารกลางวันตามภาวะโภชนาการของนักเรียน โครงการไร้พุง โครงการกำจัดเหา โครงการตรวจสอบคุณภาพอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพอนามัยโรงเรียนที่เด่นชัดและน่าสนใจ

แค่มีไอเดีย มีหัวคิดทางด้านซอฟต์และมีมุมมองการตลาด ก็มีสิทธิ์รับเงินแสน

Software Business Plan Contest 2010
ข่าวดีสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักการตลาด นิสิต นักศึกษา และทุกท่านที่มีพลังสร้างสรรค์
เชิญทุกท่านปั้นสุดยอดไอเดีย ค้นหาความต้องการของตลาด และออกแบบนวัตกรรมซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองไอเดียสุดบรรเจิดของคุณทุกคนได้รู้
แค่นี้คุณก็มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถสร้างความสำเร็จให้กับตัวคุณเองและประเทศชาติได้ กับการกลับมาของโครงการดีๆ ระดับชาติกับนวัตกรรมวาณิชย์ รุ่นที่ 3 ใน โครงการประกวดแผนธุรกิจซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติ หรือ Software Business Plan Contest 2010 โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA
ขอเชิญผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ และดิจิทัล คอนเทนต์ นักธุรกิจ ไอที นิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมทั้งได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร “Unleash Innovative Software to Business Success : ปล่อยไอเดีย..เปิดนวัตกรรม..นำความสำเร็จสู่ธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย” จากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศฟรี ตลอดโครงการ พร้อมรับวุฒิบัตรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“มาร่วมค้นหาความเป็นสุดยอดนักวางแผนธุรกิจซอฟต์แวร์ กับการต่อยอดไอเดียเพื่อพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 700,000 บาท”
สามารถสมัครได้ทั้งในรูปแบบเดี่ยว หรือทีมๆ ละไม่เกิน 4 คน สำหรับผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภท จะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูงถึง 100,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ 30,000 บาท และรางวัลชมเชยรวม 12 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท
โดยในปีนี้แบ่งการแข่งขันตามประเภทของซอฟต์แวร์รวม 4 ประเภทด้วยกันคือ
  1. Enterprise Software
  2. Embedded & Robotic
  3. Game and Animation
  4. E-Learning